ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปี สำหรับเราแล้ว ลำพูนเป็นเมืองขนาดอบอุ่น ที่เต็มไปด้วยเสน่ห์และผู้คนเป็นมิตร นอกเหนือไปจากการเดินทางภายในจังหวัดที่สะดวกสบายแล้ว ที่นี่ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางศาสนา เป็นต้นกำเนิดของแบรนด์ดัง และยังเป็นที่พำนักของศิลปินชั้นครูอีกหลายคน
หากแต่เมืองเล็ก ๆ แห่งนี้ อาจดูเหมือนเป็นทางผ่านสำหรับนักเดินทางที่จะไปเชียงใหม่ จนทำให้หลายคนพลาดที่จะแวะมาทำความรู้จักเมืองแห่งนี้ให้ลึกซึ้ง ทว่าล่าสุด ทางศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้พัฒนาและเปิดตัวแอปพลิเคชัน Visit Lamphun และร่วมเรียนรู้/รู้จักกับเมืองลำพูนผ่านประสบการณ์ ‘รู้จักลำพูนใน 4 ชั่วโมง’” เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดลำพูน บนแนวคิด “Brown City” หรือ “เมืองเศรษฐกิจใหม่จากฐานมรดกทางประวัติศาสตร์” ที่ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์มรดกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม กอปรกับนำเทคโนโลยีและกิจกรรมใหม่ๆ มาใช้เป็นเครื่องมือในการฟื้นฟูเมือง ควบคู่เสริมศักยภาพทางเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้น
แอปพลิเคชั่น Visit Lamphun ถือเป็นโครงการการยกระดับและสนับสนุนองค์ความรู้เมืองต้นแบบเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยแนวคิดเมืองเศรษฐกิจ สีเขียว เมืองเศรษฐกิจใหม่จากฐานมรดกทางประวัติศาสตร์และเมืองแห่งสุขภาวะ พร้อมด้วยโครงการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและการพัฒนานิเวศเมืองน่าอยู่สำหรับทุกช่วงวัยด้วยโมเดลเทศกาลบนฐานวัฒนธรรมเมืองเก่าลำพูน ภายใต้แผนงาน “พัฒนาเมืองน่าอยู่ที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาชุมชน/ท้องถิ่น” ซึ่งสนับสนุนทุนการวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับเทศบาลเมืองลำพูน จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวแอปพลิเคชัน Visit Lamphun และร่วมเรียนรู้/รู้จักลำพูนผ่านประสบการณ์ ‘รู้จักลำพูนใน 4 ชั่วโมง’
ทั้งนี้ แอปพลิเคชั่น Visit Lamphun จะรวบรวมข้อมูลของเมืองเก่า พร้อมสำรวจแลนด์มาร์คการท่องเที่ยวสำคัญ ๆ ของเมือง รวมไปถึงจุดเช็คอินที่ไม่ควรพลาด บางแห่งอาจเป็นที่ลับ ๆ ที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก ซึ่งเป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่ของการมาเยือนลำพูนในครั้งหน้า อย่างไรก็ตาม แผนจากนี้ ทางโครงการจะทำการส่งมอบแอปพลิเคชัน Visit Lamphun ให้แก่เทศบาลเมืองลำพูนได้นำไปใช้งานจริง โดยเชื่อมั่นว่า จะเป็นเครื่องมือส่งเสริมการท่องเที่ยวและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน ผ่านสีสันความสนุกใหม่ในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเป็นพลังดึงดูดให้นักท่องเที่ยวอยากออกเดินทางไปสัมผัสประสบการณ์ท้องถิ่น เรียนรู้ และทำรู้จักลำพูนในมิติที่แตกต่างและสร้างสรรค์ยิ่งกว่าเดิม
#VisitLamphun #CIAP #CTRD #MDRI #CMU
“เหมือนโลกเรามียักษ์ใหญ่อยู่ตัวหนึ่ง ทุกคนกลัว แล้วอยู่ดี ๆ มีผู้หญิงคนหนึ่งไปกรีดข้อเท้ายักษ์ ทำให้ทุกคนเห็นว่ายักษ์ก็เลือกออกได้ ถ้ายักษ์เลือดออกได้ ก็หมายความว่ายักษ์ก็ล้มได้นั่นเอง นี่เป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เพราะฉะนั้นการเยือนไต้หวันของเพโลซีมันยิ่งใหญ่ ไม่ใช่เฉพาะกับไต้หวันเท่านั้น แต่มันยิ่งใหญ่กับโลกด้วย”
‘คราฟต์เบียร์ (Craft Beer)’ คือการผลิตเบียร์โดยผู้ประกอบการรายย่อย ไม่ใช่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ผู้ผลิตต้องใช้ฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ในการปรุงเบียร์ให้มีรสชาติหลากหลาย เน้นการใช้ส่วนประกอบตามธรรมชาติ ไม่มีการใช้สารเคมีแต่งกลิ่น และมักจะใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น ผลไม้ ดอกไม้ กาแฟ ช็อกโกแลต จึงทําให้มีความต่างจากเบียร์ทั่วไปที่เรารู้จักกัน
สภาพความเป็นอยู่ของคนในชนบทที่ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ ทั้งจากความยากจน หรือการขาดแคลนโอกาสทางการศึกษา ทำให้การศึกษาซึ่งถูกมองว่าเป็นเครื่องมือที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำ กลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ความเหลื่อมล้ำขยายวงกว้างออกไปมากยิ่งกว่าเดิม