• logo
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • บทความ
      News
      Art & Design
      Business
      Wellness
      Culture
      Insights
      Research
      Go Green
      Leisure
  • วิดีโอ
      Education
  • Podcast
      Wealth
      Environment
      Psychology
      Tecnology
logo
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • บทความ
    • News
    • Art & Design
    • Business
    • Wellness
    • Culture
    • Insights
    • Research
    • Go Green
    • Leisure
  • วิดีโอ
    • Education
  • Podcast
    • Wealth
    • Environment
    • Psychology
    • Tecnology
คุณภาพชีวิตที่ดี เริ่มต้นจากการนอน
Wellness
38
วันเผยแพร่: Feb 11,2025
อัปเดตล่าสุด: Apr 22,2025
คุณภาพชีวิตที่ดี เริ่มต้นจากการนอน

“การนอนหลับ คือ กลไกที่ธรรมชาติรังสรรค์ให้มนุษย์ใน 3 เสาหลักสุขภาพดี ซึ่งควบคู่กับการทานอาหารและการออกกำลังกาย” จากสถิติพบว่ามากกว่า 20 ล้านคนในประเทศไทยป่วยเป็นโรคนอนไม่หลับ และมีการใช้ยานอนหลับเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้หลายระบบ ดังนั้นการเลือกใช้สมุนไพรเป็นตัวช่วยในการปรับสมดุลการนอนจะช่วยให้ร่างกายได้รับผลกระทบจากการใช้ยานอนหลับน้อยลงและทำให้หลับได้ง่ายขึ้น

 
ร่างกายที่เริ่มถอยหลัง จนกลายเป็นพิษร้ายของการนอน

การนอนหลับ เป็นกิจกรรมพื้นฐานที่จำเป็นต่อร่างกาย เป็นช่วงที่สมองและร่างกายใช้เวลาในการนอนเพื่อซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้ดีขึ้น ปัญหาการนอนไม่หลับของคนไทยนั้น กรมสุขภาพจิตเผยว่า  ประชาชนไทยนอนไม่หลับช่วงกลางคืน หรือหลับไม่พอมากถึงร้อยละ 30-40 ในกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 1 ใน 5 คน ชี้ส่งผลกระทบการดำเนินชีวิตในช่วงกลางวัน ทั้งยังเสี่ยงให้เป็นโรคต่าง ๆ รวมถึงทำให้อายุสั้น อาจเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้คนต่างต้องการความช่วยเหลือจากปัญหาการนอนที่ส่งผลกระทบต่อชีวิต เพราะสิ่งที่กำลังเผชิญอยู่คือพิษร้ายที่กำลังทำให้ความแข็งแรงของสุขภาพร่างกายถดถอยลง

 

พิษร้ายของการนอนไม่หลับ คือ การที่เราพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนไม่หลับ นอนไม่เต็มอิ่ม ปัญหาเหล่านี้จะสะสมมาเรื่อย ๆ จนร่างกายเรานั้นได้เปิดรับโรคต่าง ๆ  เข้าสู่ร่างกาย การพักผ่อนไม่เพียงพอเหมือนกับพิษร้ายที่พร้อมจะเข้ามาสู่ร่างกายเมื่อมีภาวะไม่แข็งแรงเต็มที่และไม่ได้นอนเป็นเวลานาน เพราะโรคที่มาจากการพักผ่อนน้อยนั้นมีอยู่มาก นอกเหนือจากการนอนน้อยแล้วนั้น ยังเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ ตามมาด้วย แต่การที่เราได้พักผ่อนเพียงพอ นอนตามเวลาที่เหมาะสม ก็เหมือนเป็นเกราะกันพิษร้ายที่จะเข้ามาทำลายร่างกาย ฉะนั้นการนอนที่เหมาะสมจึงเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของการรักษาร่างกาย อีกทั้งยังเป็นยาสุขภาพให้ห่างไกลกับโรคอีกด้วย

 

“การนอนไม่เพียงพอทำให้สุขภาพร่างกายถอยหลัง“ ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอร์ริก ประเทศอังกฤษ และโรงเรียนแพทย์ของมหาวิทยาลัยเนเปิลส์ เฟเดรีโกที่ 2  ประเทศอิตาลี ค้นพบว่าคนที่หลับน้อยกว่า 6 ชั่วโมงในแต่ละคืนนั้น มีแนวโน้มที่จะเสียชีวิตก่อนเวลาอันควรถึง 12% หรืออาจเสียชีวิตก่อนอายุ 65 ปีนั่นเอง ซึ่งมากกว่าคนที่นอนหลับ 7-8 ชั่วโมงต่อคืน พวกเขาชี้ให้เห็นว่าการอดนอนสัมพันธ์กับโรคร้ายต่าง ๆ มากมาย เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคเบาหวานประเภท2 และโรคคอเลสเตอรอลสูง เป็นต้น เชแฟรนช์เชสโก้ คาพุคคิโอ ศาสตราจารย์ผู้นำโปรแกรมการนอนหลับเพื่อสุขภาพและสังคม จากมหาวิทยาลัยวอร์ริก และแพทย์ที่ปรึกษาของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยรัฐในโคเวนทรี อธิบายว่า การนอนหลับระยะสั้นอาจเป็นสาเหตุของสุขภาพที่ไม่ดี โดยเฉพาะหนุ่มสาววัยทำงานในสังคมสมัยใหม่

ยิ่งรายได้น้อย ยิ่งได้นอนน้อย

ข้อค้นพบที่น่าสนใจ คือ ประชากรในแถบเอเชียทรมานกับการนอนหลับไม่เพียงพอมากกว่าประชากรในแถบตะวันตก จากสถิติขององค์การนอนหลับโลกในปี 2013 เผยว่า จำนวนผู้นอนหลับต่ำกว่า 7 ชั่วโมงในญี่ปุ่นมีมากถึง 66% ของประชากรทั้งหมด เอาชนะมหาอำนาจอย่างอเมริกา อังกฤษ และเยอรมนี จึงไม่น่าแปลกใจที่ญี่ปุ่นจะกลายเป็นประเทศผู้สูญเสียมูลค่า GDP มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว โดยรายงานแรนด์ยุโรประบุว่า ปี 2016 ญี่ปุ่นสูญเสีย GDP ไปมากถึง 2.92% จากเดิม 1.86% คิดเป็นเงินกว่า 138 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว

 

จากผลการศึกษาที่กล้าวมาข้างต้นได้ข้อสรุปที่ว่า หากต้องการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ ประชาชนทุกคนควรได้นอนหลับอย่างเต็มอิ่ม

 

แต่ในมุมกลับกัน ปัจจัยด้านเศรษฐกิจกลับถูกสงสัยว่าเป็นตัวการอันดับแรก ๆ ที่บ่อนทำลายคุณภาพการนอนของคนในสังคม มีการศึกษาเกี่ยวกับมิติของการพักผ่อนที่สัมพันธ์กับความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจจำนวนไม่น้อย ชี้ว่าคนจนถูกปล้นชิงเวลาในการนอนมากกว่าคนรวย

 

หนึ่งในนั้นคืองานวิจัยของมหาวิทยาลัยการแพทย์แห่งชิคาโก  ซึ่งเผยแพร่ใน American Journal of Epidemiology(2006) เผยว่า ผู้มีรายได้สูงมีเวลานอนหลับมากกว่าผู้มีรายได้ต่ำ เนื่องจากฝ่ายหลังมักถูกกดดันให้ทำงานหลายประเภทและต้องทำงานข้ามคืน การทำงานหนักนอกจากทำให้อดนอน ยังก่อให้เกิดความเครียดสูงจนอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า ภาวะ วิตกกังวลในเวลาพักผ่อน และเกิดโรคทางกายอื่น ๆ  ตามมา เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นโรคที่พบได้ทั่วไปในหมู่ผู้มีรายได้น้อย

 

หากคนเราไม่ได้กินอาหารจนเกิดความรู้สึกหิว หลังจากที่ได้กินอาหารเข้าไปแล้ว คุณก็จะรู้สึกอิ่มรวมถึงได้รับพลังงานและสารอาหารชดเชยเข้าไปในร่างกายได้เหมือนปกติ แต่ในกรณีที่ไม่ได้นอนหลับนั้นไม่สามารถที่จะนอนหลับชดเชยย้อนหลังได้ การที่ไม่ได้นอนหลับในจำนวนชั่วโมงที่เพียงพอรวมไปถึงการนอนหลับอย่างไม่มีคุณภาพนั้นจะทำให้คุณเกิดภาวะอดนอน(Sleep Deprivation) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ดังนี้

 

เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด : มีหลายงานวิจัยที่พบความสัมพันธ์ระหว่างการอดนอนกับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมไปถึงการมีภาวะความดันสูง โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน(หัวใจวาย) โรคหลอดเลือดสมอง

 

รายได้สูงแลกกับหนี้นอน

มีบุคคลจากหลากหลายอาชีพที่มีรูปแบบของการปฏิบัติงานที่เสี่ยงต่อการอดนอนหรือเกิดภาวะเหนื่อยล้าจากการทำงาน เช่น อาชีพนักบิน ซึ่งกรณีตัวอย่างของการอดนอนที่ส่งผลเสียต่อการทำงานของระบบร่างกายเกิดขึ้นกับนักบินของสายการบินแห่งหนึ่งในต่างประเทศที่เกิดอุบัติเหตุเครื่องบินตก โดยจากการสืบสวนพบว่า นักบินประจำเที่ยวบินได้รับจำนวนชั่วโมงการทำงานยาวนานต่อเนื่องถึง 72 ชั่วโมง และได้พักเพียงเล็กน้อยก่อนจะต้องทำการบินในครั้งต่อไป

 

ผู้เชี่ยวชาญด้านมนุษย์ปัจจัยจากองค์การนาซ่าได้เข้ามาช่วยวิเคราะห์สาเหตุของอุบัติในครั้งนี้ พบว่า เวลานอนของนักบินไม่เพียงพอ ซึ่งตามปกติมนุษย์ควรจะได้นอนหลับ 6 ชั่วโมงต่อวัน เพราะเมื่อนอนน้อยจำนวนเวลานี้ก็จะเกิด “หนี้การหลับ(sleep debt)” ขึ้น

 

เมื่อหนี้การหลับสะสมเพิ่มขึ้นก็จะเกิดความเหนื่อยล้าสะสมตามไปด้วย ซึ่งกัปตันในเที่ยวบินนี้มีหนี้การหลับที่สูงมาก ทำให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานลดลง 50% เช่น ความทรงจำ การตัดสินใจ ความระมัดระวัง ปฏิกิริยาตอบรับ ทักษะการสื่อสาร ฯลฯ จากกรณีอุบัติเหตุเครื่องบินตกครั้งดังกล่าวผู้เชี่ยวชาญจึงสรุปว่าเกิดขึ้นจากความเหนื่อยล้าสะสมและการนอนหลับที่ไม่เพียงพอ ทำให้กัปตันมีการตัดสินใจที่ผิดพลาด นำไปสู่การเปลี่ยนกฎการบินที่มีการจำกัดชั่วโมงบินของพนักงาน

 

นอกจากกรณีดังกล่าว คุณอาจจะเคยเห็นบุคคลจากสายงานต่าง ๆ ที่อยู่ในคลิปตามสื่อสาธารณะที่แสดงพฤติกรรมหงุดหงิดฉุนเฉียว มีการโต้เถียงอย่างรุนแรงกับผู้รับบริการ ซึ่งหลายครั้งเมื่อสืบไปก็พบว่ามาจากสภาวะการอดนอนเพราะมีชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานมากเกินไป เช่น อาชีพบุคลากรทางการแพทย์ เป็นต้น

 

ปิดท้ายหลับง่ายด้วยใบบัวบก

ใบบัวบกเป็นสมุนไพรบำรุงภายใน เชื่อว่าหลาย ๆ ท่านคงจะเคยได้ยินผ่านหูกันมาว่าน้ำใบบัวบกสามารถช่วยแก้ฟกช้ำภายในหรือแก้ช้ำใจได้  แต่นอกจากสรรพคุณแก้ช้ำแล้วนั้น ใบบัวบกยังช่วยเสริมการทำงานของกาบา(GABA) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยรักษาสมดุลของจิตใจ ลดความกระวนกระวาย ช่วยให้จิตใจสงบและผ่อนคลายลงได้ ทำให้สามารถนอนหลับได้ง่ายขึ้น โดยแค่เพียงรับประทานเป็นประจำก่อนนอนก็จะช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น ปัจจุบันนี้มีการผลิตสารสกัดจากใบบัวบกเป็นยาบำรุงสมอง สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป แต่ก่อนทำการซื้อโปรดสังเกตมาตรฐานและเลขจดแจ้งขออนุญาตจาก อย. ทุกครั้ง

 

เผยแพร่ครั้งแรก : Angkaew for Equality

ผู้เขียน : พลอยชมภู ฮ่มป่า
เรียบเรียง : ปวริศา อนุขุน
พิสูจน์อักษร : ฐิติมา ยิ้มประเสริฐ, ปวริศา อนุขุน
ภาพปก : ณัฐธยาน์ แท่นทอง

ผลงานของนักศึกษากลุ่มวิชาวารสารศาสตร์บูรณาการ คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

แหล่งอ้างอิงข้อมูล

วัชรี แสงสาย พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา

นพ. นรชาติ รัตนชาตะ จิตแพทย์ โรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมา

WARWICK THE UNIVERSITY OF WARWICK: Short Sleep Increases Risk of Death & Over Long Sleep Can Indicate Serious Illness สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2566 https://warwick.ac.uk

สสส. นอนไม่หลับ..ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม หนึ่งในปัญหาที่บั่นทอนสุขภาพและคุณภาพชีวิตของคนไทย สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2566 https://www.thaihealth.or.th


บทความที่เกี่ยวข้อง
จากยอดดอยสู่ตลาด การเดินทางของ ‘มะเขือเทศกะเบอะดิน’
  • News
จากยอดดอยสู่ตลาด การเดินทางของ ‘มะเขือเทศกะเบอะดิน’

เพราะเรื่องปากท้องเป็นเรื่องสำคัญ ชาวกะเบอะดินจึงต้องทำการเกษตรเพื่อเลี้ยงชีพ “เพราะการเกษตร อยู่กับชาวกะเบอะดินตั้งแต่เกิดยันตาย” ‘ชุมชนกะเบอะดิน’ หมู่บ้านของชาวกะเหรี่ยงโปว์บนยอดดอยสูงในอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ที่ประชากรทุกหลังคาเรือนปลูกพืชเป็นอาชีพหลัก เนื่องจากบริบททางสังคมและพื้นที่ของชุมชน ทำให้ ‘เนื้อสัตว์’ เป็นสิ่งที่หาได้ยากและราคาแพง

เที่ยวในช่วง Low Season สัมผัสประสบการณ์พิเศษที่หาไม่ได้ในช่วง High Season
  • Business
เที่ยวในช่วง Low Season สัมผัสประสบการณ์พิเศษที่หาไม่ได้ในช่วง High Season

่่่่่การท่องเที่ยวในช่วงเทศกาล High Season มักจะเต็มไปด้วยผู้คนคับคั่งมากมาย ทำให้ราคาห้องพัก ค่าตั๋วเดินทางขยับตัวสูงขึ้น การเปลี่ยนบรรยากาศมาเที่ยวในช่วง Low Season หรือช่วงประมาณเดือนมิถุนายน - ตุลาคม จึงนับเป็นทางเลือกที่น่าสนใจและคุ้มค่าอยู่ไม่น้อย ทำให้ไม่ต้องเบียดเสียดกับจำนวนนักเดินทาง ได้ค่าตั๋วเดินทางที่ถูกลง และที่พักในราคาโปรโมชั่น นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงข้อดีอื่น ๆ อีกมากมาย

‘หม้อแปลงไฟฟ้าอัจฉริยะ’ นวัตกรรมใหม่ที่ช่วยเซฟพลังงานอย่างยั่งยืน
  • Go Green
‘หม้อแปลงไฟฟ้าอัจฉริยะ’ นวัตกรรมใหม่ที่ช่วยเซฟพลังงานอย่างยั่งยืน

หม้อแปลงไฟฟ้าอัจฉริยะเป็นผลงานการวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มช. ที่คิดค้นหม้อแปลงที่สามารถคำนวณความต้องการใช้พลังงานของอาคาร และส่งข้อมูลไปยังแหล่งจ่ายไฟฟ้าเพื่อกำหนดปริมาณกระแสไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการ

เว็บไซต์ใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน  รายละเอียด
logo
  • บทความ
  • วิดีโอ
  • Podcast
  • ติดต่อเรา
Copyright © 2023 CMU. All Rights Reserved. Powered by I GEAR GEEK