จากข้อมูลสถิติในประเทศไทย พบว่าอัตราการเกิดออทิสติกมีการเพิ่มขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ใน ภาคเหนือเองก็มีการรายงานว่า จำนวนเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีออทิสติกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจากงานวิจัยของศูนย์การศึกษาพิเศษภาคเหนือ หรือกรมสุขภาพจิต พบว่าอัตราการเกิดออทิสติกในประเทศไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 1:1000 เป็น 1:100 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
การรับรู้และความเข้าใจของผู้รับสารที่เกี่ยวข้องกับออทิสติกในภาคเหนือยังคงมีปัญหาด้านการรับรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับออทิสติกที่จำกัด โดยเฉพาะในกลุ่มพ่อแม่ ครู และชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ด้านกรมสุขภาพจิต พบว่า 40% ของผู้ปกครองในชนบทยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับออทิสติก เช่น การเข้าใจผิดว่าเป็นผลจากการเลี้ยงดูไม่ดี หรือเกิดจากปัจจัยภายนอกอื่น ๆ
นอกจากนี้ จากการสำรวจของศูนย์ข้อมูลพัฒนาสังคม ระบุว่า 50% ของครูในภาคเหนือยังขาดการอบรมเกี่ยวกับการสังเกตและดูแลเด็กออทิสติกในห้องเรียน ส่วนงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่าในกลุ่มชุมชนต่างจังหวัดมีความเข้าใจเกี่ยวกับออทิสติกน้อยกว่าในเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพฯ และเชียงใหม่ และมีการยอมรับเด็กออทิสติกในสังคมน้อยกว่า
ชวนไปติดตามเรื่องราวของเด็กพิเศษที่ต้องการความใส่ใจ และสามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้อย่างปกติสุข ณ โรงเรียนสันทรายหลวง
ผลงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนวิชา 851448 หรือการผลิตสื่อวารสารศาสตร์ จัดทำโดยนักศึกษากลุ่มวิชาวารสารศาสตร์บูรณาการ คณะการสื่อสารมวลชน ประกอบด้วย
นายเฉลิมเกียรติ โรจน์อภิชัย 641810037
นายธนดล เครือคำ 641810084
นางสาวชาร์เนล ปัญญาวร 651810059
นายธนรัตน์ แก้วระหัน 651810110
นายสิริกรวีร์ รุ่งธิติธรรม 651810271
นางสาวณัฐชา เครื่องคำ 651810291
นางสาวมัลฑิกานต์ หลักฐาน 651810295