• logo
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • บทความ
      News
      Art & Design
      Business
      Wellness
      Culture
      Insights
      Research
      Go Green
      Leisure
  • วิดีโอ
      Education
  • Podcast
      Wealth
      Environment
      Psychology
      Tecnology
logo
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • บทความ
    • News
    • Art & Design
    • Business
    • Wellness
    • Culture
    • Insights
    • Research
    • Go Green
    • Leisure
  • วิดีโอ
    • Education
  • Podcast
    • Wealth
    • Environment
    • Psychology
    • Tecnology
สภาลมหายใจฯ เห็นต่างนโยบายห้ามเผา พร้อมยื่น 3 ข้อเสนอให้รัฐทบทวนใหม่
Go Green
31
วันเผยแพร่: Mar 03,2025
อัปเดตล่าสุด: May 08,2025
สภาลมหายใจฯ เห็นต่างนโยบายห้ามเผา พร้อมยื่น 3 ข้อเสนอให้รัฐทบทวนใหม่

ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายนของทุกปี นับเป็นช่วงเวลาที่ชาวเชียงใหม่ต้องผจญกับปัญหา PM2.5 ที่ยืดเยื้อ ยาวนานมาเป็นระยะเวลาหลายปี จนทำให้เชียงใหม่กลายเป็นเมืองที่มีมลพิษทางอากาศแย่ที่สุดในโลกเมื่อเดือนเมษายน 2566

 

ปีนี้ จังหวัดเชียงใหม่จึงเดินหน้าด้วยแผนเชิงรุกในการแก้ปัญหาฝุ่นควันอย่างเต็มกำลัง อาทิ การออกคำสั่งประกาศกำหนดเขตการบริหารจัดการเชื้อเพลิงและเขตควบคุมการเผาของจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีหลักการสำคัญคือให้ทุกพื้นที่ดำเนินการ กำหนดเขตการบริหารจัดการเชื้อเพลิง สามารถบริหารจัดการเชื้อเพลิงทางการเกษตรที่มีความจำเป็น และพื้นที่ป่าที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า และพื้นที่ที่มีความจำเป็นต่อการหยุดยั้งการลุกลามของไฟตามหลักวิชาการ

โดยต้องทำแผนการบริหารจัดการเชื้อเพลิงระดับอำเภอ และให้นำข้อมูลลงทะเบียนจัดการเชื้อเพลิงในระบบ Fire-D ณ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นของพื้นที่นั้น ๆ เพื่อให้ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองระดับอำเภอหรือระดับตำบล (นำร่อง) พิจารณาอนุญาตก่อนดำเนินการพร้อมทั้งให้จัดทำแนวกันไฟและควบคุมไฟมิให้ลุกลาม และรายงานผลการดำเนินงานในระบบ Fire-D ทุกครั้ง

 

อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมาเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2568 ได้มีคำสั่งการของรัฐบาล นายอนุทิน ชาญวีรกุล ถึงกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติให้ผู้ว่าราชการจังหวัดยกระดับมาตรการแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและ PM2.5 โดยการห้ามเผาอย่างเคร่งครัดและเด็ดขาด ทำให้สภาลมหายใจเชียงใหม่ และเครือข่ายเล็งเห็นว่า มาตรการดังกล่าวนี้ไม่ได้ตอบโจทย์เป้าหมายของการแก้ปัญหาไฟป่าหมอกควันโดยเฉพาะไม่สามารถนำมาใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้ง 77 จังหวัดได้ เนื่องจากแต่ละพื้นที่มีบริบทของความหลากหลายและแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ อีกทั้งคำสั่งห้ามเผาเด็ดขาด ยังอาจทำให้เกิดการแอบเผา เผาแล้วหนี เผาเพราะท้าทาย จนทำให้ไม่สามารถควบคุมได้

 

ทั้งนี้ นายชัชวาลย์ ทองดีเลิศ ประธานสภาลมหายใจเชียงใหม่ ได้โพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่าไม่เห็นด้วยกับนโยบายห้ามเผาในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพราะมันไม่สอดคล้องกับหลักความเป็นจริง และยิ่งทำให้การเผาไปอยู่ในที่มืด จนอาจควบคุมไม่ได้

 

“PM2.5 เกิดจากการเผาทุกชนิด รถยนต์วิ่งก็คือเผาไฟกองเล็ก โรงไฟฟ้าถ่านหินก็ไฟกองใหญ่ โรงงานอุตสาหกรรมก็ไฟกองใหญ่ เผาตลอดเวลาทั้งปี เดือนที่ pm2.5 พีคก็ไม่หยุด ไม่มีใครโวยวายอะไร นายทุนอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ที่ส่งเสริมปลูกข้าวโพดกว้างขวางแล้วมีการเผาเกิดผลกระทบมากมาย ก็ไม่เห็นมีการกดดันแต่อย่างใด ขณะที่การเผาเพื่อการดำรงชีพกลับถูกไล่ล่าถูกจับกุมเหมือนดังฆาตกร นี่คือความไม่เป็นธรรม

 

“การจุดไฟโดยพละการ ไฟที่ไม่ความจำเป็น เห็นด้วยว่าต้อง zero burning ต้องใช้กฎหมาย แต่ไฟที่จำเป็นตามหลักวิชาการวนศาสตร์ต้องมีการบริหารจัดการควบคุมไม่ให้เกิดการลุกลามเพื่อลดผลกระทบให้น้อยที่สุด ซึ่งทางเชียงใหม่ได้ร่วมกันดำเนินงานมาแล้ว ซึ่งถือว่ามีพัฒนาการที่ดี แต่อาจยังไม่สมบูรณ์ เห็นด้วยว่าต้องเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส ตรงไปตรงมา ต้องพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

“ผมขอเรียกร้องให้ทาง กพร.สถาบันทางวิชาการ สกสว.ที่ทำวิจัยมีองค์ความรู้มากมายและร่วมขับเคลื่อนกับภาคีต่างๆในเชียงใหม่ควรเสนอข้อมูลทางวิชาการเพื่อประโยชน์ต่อทุกฝ่าย เพื่อเป็นทางออกบนฐานความรู้ให้กับสังคมและผู้บริหารประเทศ” นายชัชวาล แสดงความคิดเห็น พร้อมกันนี้ได้ร่วมกับเครือข่าย ซึ่ง ประกอบด้วย มูลนิธิเพื่อการพันาที่ยั่งยืน สมัชชาชุมชนคนอยู่กับป่า (สชป.) มูลนิธิพัฒนาเครือข่ายสุขภาพ เสนอแนะให้รัฐฟังเสียงสะท้อนของคนในท้องถิ่น และทบทวนมาตรการห้ามเผา โดยต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และการดำเนินวิถีชีวิตของประชาชนเป็นสำคัญ โดยเสนอทางออก 3 แนวทาง ได้แก่

1. นโยบายการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันไม่ควรจะเป็นแบบเดียวทั้ง 77 จังหวัด ควรจะคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายของพื้นที่ และมีการปรับให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการในแต่ละจังหวัด ซึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ควรยึดตามแนวทางการบริหารจัดการไฟ (Fire Management) ซึ่งเป็นนวัตกรรมการแก้ปัญหาไฟป่าฝุ่นควันและลดผลกระทบทางสุขภาพที่เหมาะสมต่อพื้นที่ โดยต้อง...

  • เริ่มจากต้องมีนโยบายและแผนการบริหารจัดการในระดับพื้นที่ป่าร่วมกันของทุกฝ่ายทั้งชุมชน องค์ปกครองท้องถิ่น เจ้าหน้าที่อุทยานฯ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ฝ่ายปกครอง
  • ร่วมกันกำหนดพื้นที่ตรงไหนจะร่วมกันรักษาไม่ให้เกิดไฟ(zero burn) ต้องทำแนวกันไฟ ต้องลาดตระเวณ ต้องช่วยกันดับเมื่อเกิดไฟ
  • ร่วมกันกำหนดพื้นที่ตรงไหนจำเป็นต้องใช้ไฟจริงๆ(การทำไร่หมุนเวียน พื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ พื้นที่ที่มีการสะสมเชื้อเพลิงมากเกินไป พื้นที่เสี่ยง หากเกิดไฟแล้วเข้าดับไม่ได้) ต้องแจ้งพิกัด จำนวนพื้นที่ ขออนุญาติผ่านแอปปลิเคชั่นFire D เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณา ก่อนดำเนินการต้องทำแนวกันไฟ มีกำลังคนควบคุม และดำเนินการให้จบในตอนกลางวัน ป้องกันไม่ให้ลุกลาม
  • พื้นที่นาให้ใช้การไถกลบตอซังข้าวแทนการเผาทุกที่
  • มีแผนการลดเชื้อเพลิงชิงเก็บ เก็บชีวมวลมาขายเป็นรายได้ หรือการแปรรูปเป็นปุ๋ยอินทรีย์
  • ในระยะยาวมีแผนสนับสนุนการเปลี่ยนการผลิตเชิงเดียว(ข้าวโพด)ให้เป็นการผลิตที่ยั่งยืน

2. ขอให้มีการทบทวนข้อสั่งการของกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติเพื่อให้ไม่ให้ผู้ปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องทั้งชุมชน เจ้าหน้าที่ป่าไม้เกิดความสับสน และสามารถรับมือกับไฟเป่า หมอกควันที่กำลังมาถึง

 

3. การดำเนินนโยบายใด ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาหมอกควันเชียงใหม่ ควรรับฟังเสียงของท้องถิ่นและผู้ที่ได้รับผลกระทบของพื้นที่เป็นตัวตั้ง

 

เรื่อง : วีณา บารมี

 


บทความที่เกี่ยวข้อง
ภูอันนา อีโค เฮ้าส์  สงบ ร่มรื่น เน้นความยั่งยืน ใจกลางธรรมชาติ
  • Go Green
ภูอันนา อีโค เฮ้าส์ สงบ ร่มรื่น เน้นความยั่งยืน ใจกลางธรรมชาติ

"เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม" กลยุทธ์สำคัญในการดึงดูดลูกค้าหน้าใหม่ในปี 2024 เนื่องจากปัจจุบันลูกค้าส่วนใหญ่ตระหนักถึงปัญหาโลกร้อน จึงหันมาสนับสนุนสินค้า และบริการที่สามารถช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการเลือกพักผ่อนในสถานที่รักษ์โลก และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ภายฉายเชียงใหม่ในอนาคต น้ำจะท่วมซ้ำไหม ?
  • Go Green
ภายฉายเชียงใหม่ในอนาคต น้ำจะท่วมซ้ำไหม ?

คงไม่มีใครคาดคิดว่า ปีนี้เชียงใหม่จะกลายเป็นเมืองจมบาดาลซ้ำๆ 2 ครั้ง 2 คราในเวลาไล่เลี่ยกันเพียงไม่ถึงเดือน คำถามต่อมาที่เกิดขึ้นก็คือ แล้วในอนาคตล่ะ ? เชียงใหม่จะเกิดน้ำท่วมใหญ่แบบนี้ทุกปีหรือไม่ และชาวเชียงใหม่จะต้องเตรียมรับมือกับอุทกภัยอย่างไรต่อไป ? ชวนไปหาคำตอบเรื่องนี้กับภายฉายในอนาคตข้างหน้าของเชียงใหม่

‘หม้อแปลงไฟฟ้าอัจฉริยะ’ นวัตกรรมใหม่ที่ช่วยเซฟพลังงานอย่างยั่งยืน
  • Go Green
‘หม้อแปลงไฟฟ้าอัจฉริยะ’ นวัตกรรมใหม่ที่ช่วยเซฟพลังงานอย่างยั่งยืน

หม้อแปลงไฟฟ้าอัจฉริยะเป็นผลงานการวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มช. ที่คิดค้นหม้อแปลงที่สามารถคำนวณความต้องการใช้พลังงานของอาคาร และส่งข้อมูลไปยังแหล่งจ่ายไฟฟ้าเพื่อกำหนดปริมาณกระแสไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการ

เว็บไซต์ใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน  รายละเอียด
logo
  • บทความ
  • วิดีโอ
  • Podcast
  • ติดต่อเรา
Copyright © 2023 CMU. All Rights Reserved. Powered by I GEAR GEEK